SPSS 17
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhLjx4IToty8knT4_gBOsZkqWF7LQJppgN9CWY6R-ITJ4ZsbD_k-cFoiJFAdoRt7aMpu-FUYvkA42KqO7YQzMQIByTszSqhtb3jQoe73RYl2NN08T64CvEkoKlfgMIZ5JiclzsNZN0LErPX/s1600/spss-01-527x535.png)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgB9AF-HA-XuNe0sMseHXTydglgO-81Zw6NVpb3U5iHmgTi-siMIoQwZpU-HB-Y30E7O4F7jV4QCvHv7p8kfwJGhYkvjzelzvjyC-lhZ_UjL7dd96mqCsHNYasMLGvXsImzDE8yQCKeUH58/s1600/spss.jpg)
โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น